วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการประชุมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

 ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการประชุมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Teachers' opinions towards the meeting skills of school administrtors under the Office of Buriram Provincial Primary Education

Classification :.DDC: 372.1201
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกาาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการประชุมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานทางการศึกษา และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ประชากรได้แก่ ครูโรเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 9,162 คน กลุ่มตัวอย่าง 370 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน แล้วทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้รับแบบสอบถามคืนมา 370 คน ครบร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น .9755 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test และ เปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้านโดยวิธีของ LSD กำหนดค่าสถิติที่มีระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ อายุ และวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของครูจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานทางการศึกษา พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความคิดเห็นของครูจำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการประชุมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระเห็นด้วยมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการเตรียมการประชุม การดำเนินการประชุมและการติดตามและประเมินผลการประชุม ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษา มีทักษะเกี่ยวกับการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากในทุกด้าน 5. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติม 5.1 ด้านการวางแผนและการเตรียมการประชุม ควรมีการจัดวาระการประชุมที่เหมาะสมครอบคลุม และแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบล่วงหน้า 5.2 ด้านการดำเนินการประชุม ควรดำเนินการประชุมให้กระชับตามระเบียบวาระ โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการประชุม และบริหารเวลาให้เป็นไปตามกำหนด 5.3 ด้านการติดตามและประเมินผลการประชุม ควรมีการติดตามการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ
Abstract: The purposes of this research were to examine and compare teachers’ opinions towards the meeting skills of school administrators under the office of Buriram Provincial Primary Education. Their considerations were differentiated by sex, age, level of education, teaching experience, and sizes of school. The population of the study was 9,162 primary school teachers under the Office of Buriram Provincial Primary Education. Three hundred and seventy were selected through simple random sampling by applying Krejcie & Morgan cross-tabulation. The instrument of the study was a 5 – scale rating questionnaire with a reliability of .9755. Three hundred and seventy questionnaires (100 percent) were returned. The statistical techniques for analysis of the collected data were percentage, mean, and standard deviation. A t-test (Independent Sample), F-test and the LDS (Least Significant) multiple comparison method were also applied. The significant difference was set at the level of .05. The research findings were as follows: 1. According to sex, age, and level of education the opinions among the teachers were totally not significantly different at the level of .05. 2. According to teaching experience, the opinions were totally significantly different at the level .05. 3. According to sizes of school, the opinions among the teachers were totally significantly different at the level .01. 4. Teachers’ opinions towards the meeting skills of school administrators were “high” and positive in all three areas in this order: planning and preparation, meeting process, and meeting follow-up and evaluation. 5. Suggestions were also given: 5.1 Regarding meeting planning and preparation, the agenda should be relevant and cover all the matters. Meeting members should also be informed in a timely manner. 5.2 Regarding the course of meetings, the agenda should be well-structured and followed. Participation of the members is essential. Time management should be implemented. 5.3 Regarding meeting follow-up and evaluation, jobs assigned should be systematically followed
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการ


สมัคร พงาตุนัด(2549).ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับทักษะการประชุมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์  ครุศาสตรมหาบัณฑิต  การบริหารการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น