วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

วิทยานิพนธ์ เรื่องการศึกษาปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

 การศึกษาปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

A Study of Problems of Accumulating Education Resources for Administration in Primary School under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima

Classification :.DDC: 371.2
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และเปรียบเทียบปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจังหวัดนครราชสีมาปีการศึกษา 2546 จำนวน 302 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 53 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีปัญหาระดับปานกลางทุกข้อ 2. ปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กกับสถานศึกษาที่มีขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน 3. ปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมีค่าเฉลี่ยปัญหา การระดมทรัพยากรทางการศึกษาต่ำกว่าสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านการจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมีปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาต่ำกว่าสถานศึกษาที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ The purpose of the research was to study and to compare the problems on educational resource accumulating for the administration of fundamental education schools under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima, regarding the school sizes and locations. The sample group of the study was 302 schools under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima in the year 2004. A rating scale questionnaire with 53 items was employed in the data collection. SPSS for Windows, frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test were used in the data analysis. The research found that 1. Regarding the problem on the educational resource accumulating for the administration of fundamental education under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima was at the average level, when generally considered. Specifically considered, it was found that the personnel problem, the financial problem, the equipment and material problem, and the management problem were respectively at the average level. 2. Regarding the school sizes, the problem on educational resource accumulating for the administration of fundamental education schools under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima showed no statistically significant difference, when generally considered. In addition, it showed no statistically significant difference in all aspects, when specifically considered. 3. Regarding the school locations, the problem on educational resource accumulating for the administration of fundamental education organizations under the Office Primary Education Area in Nakhon Ratchasima showed statistically significant difference at the .05 level, when generally considered. Schools locating in the municipal area showed lower level of problems on educational resource accumulating than schools locating outside the municipal area. When specifically considered, the aspects relating to the equipment and material problem and the management problem showed statistically significant difference at the .05 level. Schools locating in the municipal area showed lower level of problems on educational resource accumulating than schools locating outside the municipal area. Considering the other aspects, they showed no statistically significant difference at the .05 level.


สมพร แดงสวัสดิ์ (2547).การศึกษาปัญหาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา.ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

QR Code


 

My Photo








 

วิทยานิพนธ์ เรื่องบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี

 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี

THE ADMINISTRATORS’ ROLES TO PROMOTE SCHOOL PERFORMANCE IN LEVEL 1–2 BASIC EDUCATION SCHOOLS AS JURIDICAL PERSON UNDER KANCHANABURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษา เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษา จาแนกตามประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา รวมทั้งศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี จานวน 198 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ โดยการใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS for Windows และการวิเคราะห์เนื้อหา



ไกรพจน์ บุญประเสริฐ (2549).บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดาเนินงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

วิจัย การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 390 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมคุณภาพ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย 13 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลัก ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการวางแผน (2) ด้านการปฏิบัติตามแผน (3) ด้านการตรวจสอบ (4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข 2) องค์ประกอบหลักด้านการมีส่วนร่วมมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการดำเนินงาน
(2) ด้านการตัดสินใจ (3) ด้านการประเมินผล 3) องค์ประกอบหลักด้านภาวะผู้นำมี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการที่ดี (2) ด้านความรับผิดชอบ (3) ด้านความสามารถ (4) ด้านการสร้างเครือข่าย 4) องค์ประกอบหลักด้านการมุ่งเน้นนักเรียนมี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) ด้านการรับฟังนักเรียน (2) ด้านความผูกพันของนักเรียนและตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีจำนวน 70 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีส่วนร่วม จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ด้านภาวะผู้นำ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ และด้านการมุ่งเน้นนักเรียน จำนวน 13 ตัวบ่งชี้
2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้าง ตัวบ่งชี้การพัฒนา ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่าสถิติ ไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 64.49, df = 50, p = 0.082, RMSEA = 0.027, GFI = 0.98, AGFI= 0.95)



ธนิต ปุ่นประโคน  (2562)การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิทยานิพนธ์ เรื่องการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
ADMINISTRATIVE PARTICIPATION OF THE BASIC EDUCATION COMMITTEE IN LEVEL 3 - 4 BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI


Organization : โรงเรียนสองพี่น้องวิทยา จ.สุพรรณบุรี
ThaSH: 
Classification :.DDC: 370.2
ThaSH: 
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบระดับการมี ส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตามขนาด สถานศึกษา รวมทั้งสังเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ชนิด 5ระดับ และคำถามปลายเปิด ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดย วิธีการของ เชพเฟ่ ( Scheffe ) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ในภาพรวม 12 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ระดับปานกลาง 10 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน รวมทั้งการสืบสานจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ด้านเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ส่วนด้านที่มีส่วนร่วมระดับปานกลางที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น ๆ คือ ด้านเสนอแนวทางและมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคลและด้านบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา 2. ผลการเปรียบเทียบ ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาขนาดใหญ่แตกต่างกับสถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดกลางแตกต่างกับสถานศึกษาขนาดเล็ก แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาแต่ละขนาดไม่มีความแตกต่างกัน 3. ปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ทั้ง 4 ด้านคือ การบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารจัดการเรื่องงบประมาณ การบริหารจัดการงานบุคคล การบริหารทั่วไป พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีภาระกิจส่วนตัวมาก ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมตามที่กำหนดได้ และสถานศึกษาไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและร่วมดำเนินการ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาควรกำหนดให้มีการประชุม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบริหารงาน กำหนดระยะเวลาการประชุมให้แน่นอนโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ



 รุ่งทิวา เกษดี.(2547).การมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต   การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

Blogger  นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

https://suchanyapam.blogspot.com

https://manidatukta2524.blogspot.com

https://sanjitaklayprayong.blogspot.com

https://kruweerayut01.blogspot.com

https://pongthepniyomthai.blogspot.com

https://noorfadilah2534.blogspot.com

https://kanoktip2536.blogspot.com

https://supannee-suna.blogspot.com

https://chaitobuddee.blogspot.com

https://teerapongsuksomsong.blogspot.com

https://witsarut-benz238.blogspot.com

https://phakornkiat.blogspot.com

https://nitid-hengchoochip.blogspot.com

https://chonthichadeebucha.blogspot.com

https://nopparataunprasert.blogspot.com

https://chaichaofa.blogspot.com

https://voraponbabyboss.blogspot.com

https://chenchira2021.blogspot.com

https://nattidadechakkanat.blogspot.com

https://khunmuangchukorn.blogspot.com

https://anupong12tu.blogspot.com

https://sutthananabangchang.blogspot.com

https://sattawatsurisan.blogspot.com

https://thanchanokluarnkrew.blogspot.com

https://supaporn1204.blogspot.com

https://vigaivaraporn.blogspot.com

https://nisachonyimprasert.blogspot.com

โปรแกรม B-OBEC

 

โปรแกรม B-OBEC

เพื่อบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลอาคาร ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลสิ่งก่อสร้างของโรงเรียน  โดยให้โรงเรียนบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม B-OBEC  ซึ่งโรงเรียนสามารถกรอกข้อมูลระดับโรงเรียนเองได้ สําหรับการส่งข้อมูล B-OBEC ในภาพรวมของเขตพื้นที่ เขตพื้นที่จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล หรือกรอกข้อมูล แล้วสํารองข้อมูลส่งขึ้นในระบบ ftp ระบบดังกล่าว มีหลักการทํางาน ส่วนใหญ่ คือ การบันทึกข้อมูล การประมวลผล และการรายงานผล ระบบการทํางานของ B-OBEC สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศด้านที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

1. โรงเรียน สามารถบันทึก แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้โดย Upload ทางอินเทอร์เน็ต หรือส่งแผ่น CD

2. เป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนสามารถใช้ร่วมกัน ได้ในสวนที่เกี่ยวข้อง

3. ประหยัดงบประมาณของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในด้าน Hardwar และ Software

4. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบที่ Data Center ที่เดียว โดยโรงเรียน ไม่ต้องลงโปรแกรมใหม่

5. โรงเรียน, สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการด้านที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

หน้าแรกเข้าเว็บไซด์ https://bobec.bopp-obec.info/index.php


            หน้าลงทะเบียนเจ้าหน้าที่



          

 การลงชื่อเข้าใช้

   

สามารถดูสิ่งก่อสร้างในโรงเรียนที่เคยสร้ามมาแล้วย้อนหลังได้






    

   สามารถดูได้ว่าในเขตพื้นที่การศึกษาของเรานั้นสร้างอะไรไปบ้าง สร้างไปจำนวนเท่าไร







ประวัติ นางสาวนิสาชล ยิ้มประเสริฐ

 


Personal history

ชื่อ นางสาวนิสาชล ยิ้มประเสริฐ  ชื่อเล่น ไอซ์

วันเกิด : 5 มีนาคม 2537  อายุ  26 ปี

สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ

เกิด : จังหวัดอุทัยธานี

วุฒิการศึกษา : ศึกษาศาสตรบัณฑิต

                            สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา

                            มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

อาชีพ : ข้าราชการ  โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง (แช่มประชาอุทิศ)  สพป.สมุทรสาคร